กฎหมาย


1.              กฎหมายคืออะไร

                คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

       2. . ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?

- กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์  หมายความว่า ผู้บัญญัติกฎหมายต้องมีอำนาจในรัฐ จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล

- กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป  หมายความว่า กฎหมายจะต้องใช้บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค

- กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายเรื่องใดฉบับใดแล้ว กฎหมายนั้นก็จะใช้ได้ตลอดไป จะเก่าหรือล้าสมัยอย่างไรก็ใช้บังคับได้อยู่ จนกว่าจะได้มีการประกาศยกเลิก

- กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า กฎหมายทุกฉบับประชาชนต้องปฏิบัติตาม จะขัดกับผลประโยชน์ของตนอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้

- กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ  หมายความว่า ผู้กระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดต้องถูกลงโทษ เช่น กฎหมายกำหนดผู้มี

         3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?

                 - สร้างความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะ ต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น ขาดความ ยุติธรรม กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังที่เรา เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้
                 - รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม
                - ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย การเป็น ทนายความ อัยการ ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง ความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคม
                - ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้าง ความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง การปกครอง ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ ประชาชน
              -รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมาย ที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ

    4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?

        4.1แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
- กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ ได้แก่ กฎหมายไทยฉบับต่างๆที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามอยู่ในปัจจุบัน


- กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศที่เห็นพ้องต้องกัน เช่น สนธิสัญญา หรืออนุสัญญา เป็นต้น หรือความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นต้น

      4.2 แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แยกได้เป็น กฎหมายเ้อกชน และกฎหมายมหาชน

- กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน หรือประชาชนทั่วไปด้วยกัน เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคล เป็นต้น

- กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรัฐ อำนาจหน้าที่ หรือภารกิจของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ของรัฐและประชาชน

     4.3 แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย แยกได้เป็น หลายประเภท เช่น กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายสวัสดิการสังคม กฎหมายแรงงาน กฎหมายอุตสาหกรรม กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

     4.4 แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ

- กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดหน้าที่ของนายจ้างในการจัดให้มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

- กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาล และขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้น เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น

     4.5 การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง และกฎหมายอื่น กฎหมายบางฉบับ เช่น กฎหมายโรงงาน มีสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางปกครอง เป็นต้น

5. . ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?

                 -รัฐธรรมนูญ
                - พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                - พระราชบัญญัติ
                - พระราชกำหนด
                - พระราชกฤษฎีกา
                - กฎกระทรวง
                - กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง ?

                ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?

                ที่มาของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี       จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน           ต่อมา   ได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอนลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์ ควบคู่กันไป

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?

                -ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
                - ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
(Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
                - ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม
(Socialist Law) เกิดขึ้นและใช้อยู่ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคมนิยม ตามปรัชญาของลักทธิมาร์กซ์ ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม ให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น
                - ระบบกฎหมายศาสนา
(Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก

9.ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?

               กฎหมายประชาธิประไตย

10.องค์ประกอบสำคัญของ รัฐ มีอะไรบ้าง?

                -ประชากร
                - ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ
                - อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก
                - รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ


2 ความคิดเห็น: